บรรยากาศเก่า ๆ ของกลุ่มคริสตชน วัดนักบุญลูกา บางขาม ลพบุรี
กลุ่มคริสตชนที่บางขามส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาวญวณที่อพยพย้ายถิ่นมาจากบ้านแป้ง
เจ้าเจ็ด หน้าโคก สามเสน … คนญวณเหล่านี้มีลักษณะเด่นในการทำอาชีพประมง จับปลาเก่งมาก
จึงไม่แปลกเลยที่จะคั้งบ้านเรือนริมน้ำ … และนี่เป็นเรื่องราวของพวกเขาประวัติวัดนักบุญลูกา บางขาม ลพบุรี
“วัดบางขาม” ตามที่เราทราบนั้น คงเรียกกันตามสถานที่ตั้งมากกว่า เพราะตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำบางขาม ซึ่งเป็นแม่น้ำสายเล็กๆในจังหวัดลพบุรี จึงเรียกกันติดปากว่า “วัดบางขาม” ความเป็นจริงแล้ว วัดนักบุญลูกาหรือที่เรียกติดปากว่าวัดบางขามมิได้ตั้งอยู่ในตำบลบางขาม ตำบลบางขามกลับตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัด (คนละฟากแม่น้ำ) ซึ่งมีอาณาเขตไปถึงตลาดบางขาม หรือตลาดท่าโขลง และมีวัดทางพุทธศาสนาอยู่ด้วย ชาวบ้านเรียกว่า วัดท่าโขลง ความจริงวัดดังกล่าวอยู่ในท้องที่ อำเภอท่าวุ้ง ห่างจากวัดนักบุญลูกา ประมาณ 6 กิโลเมตร แต่การไปมาในสมัยนั้น ต้องลงเรือที่ตลาดบางขาม ชาวคริสตังเมื่อจะไปวัดนักบุญลูกา ก็ต้องลงเรือที่นั่น ฉะนั้นจึงเกิดความคุ้นเคยกับ “บางขาม” ถ้าสำหรับคนท้องที่แล้ว ก็จะคิดว่าเป็นวัดทางพุทธศาสนาที่ตลาด ท่าโขลง ส่วนชาวบ้านละแวกวัดนักบุญลูกา บางขาม จะเรียกวัดของเราว่า “วัดชนไก่” เป็นทั้งชื่อวัดและหมู่บ้าน เชื่อกันว่าเป็นวัดทางพุทธศาสนาโบราณสมัยละโว้หรือสมัยทวารวดี มีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า วัดพุทธนี้ ถูกไฟไหม้ ชาวบ้านที่อยู่เดิมจึงอพยพไปที่อยู่ที่อื่น วัดจึงกลายเป็นวัดร้าง และในไม่นานมานี้จึงเปลี่ยนชื่อจากวัดชนไก่ มาเป็น หมู่บ้าน พระวรสาร จนถึงปัจจุบันนี้
ก่อร่าง – สร้างวัด
หลักฐานที่ยืนยัน ในเรื่องของการตั้งกลุ่มคริสตชนที่บางขามนั้น เริ่มตั้งแต่ สมัยที่คุณพ่อการ์ตอง เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแป้ง ในปี ค.ศ. 1910 จากเอกสารรายงานประจำปีมิสซังสยามต่อศูนย์กลางมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเกี่ยวกับกลุ่มคริสตชนที่เพิ่งได้รวบรวมใหม่ก็คือที่บางขามนั่นเอง
ต่อมาในปี 1926 – 1929 คุณพ่อซีมอน (ฟิลิป) ศรีจันทร์ (เว้) ศรีประมงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส “วัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง” (ห่างจากวัดนักบุญลูกา บางขาม ประมาณ 35 กิโลเมตร) คุณพ่อเห็นว่าสัตบุรุษจากวัดบ้านแป้ง ได้มาทำมาหากินที่ลำน้ำบางขามเป็นจำนวนมากพอสมควร บ้างก็ตั้งรกรากอยู่ที่นี่แล้วจึงเป็นการยากที่จะอภิบาลสัตบุรุษ อีกทั้งการเดินทางสมัยก่อนนั้นก็ลำบากมาก ต้องใช้เรือ คุณพ่อจึงปรึกษากับสัตบุรุษที่มาตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้วว่า สมควรจะมีวัด เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จึงได้ติดต่อกับสัตบุรุษในเวลานั้น และได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 70 ไร่ จากหลวงพิทักษ์ ราชกิจ (นายนัง ราชกิจ) ซึ่งเป็นพี่ชายของคุณพ่อยออากิม การก่อสร้างในสมันนั้นยากลำบากมากเนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกเหมือนในปัจจุบันนี้ แต่ด้วยความอุตสาหะ ความอดทนต่างๆ และได้รับความร่วมมือจากสัตบุรุษ การสร้างวัดจึงสำเร็จแล้วเสร็จไปด้วยความเรียบร้อย ทำพิธีเสก และเปิดเมื่อ ปี ค.ศ.1927 โดย พระสังฆราช เรอเน แปร์รอส เมื่อสร้างวัดบางขามแล้วยังไม่มีพระสงฆ์ ประจำอยู่ ยังต้องขึ้นอยู่กับวัดบ้านแป้ง ในระหว่างปี 1926 – 1943 นั้นวัดนักบุญลูกา บางขาม อยู่ในความปกครองของวัดบ้านแป้ง เจ้าอาวาสวัดบ้านแป้งมีหน้าที่ในการมาดูแลวัดและทำมิสซาที่วัดบางขามด้วย
รายชื่อพระสงฆ์ ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง และมาดูแลวัดนักบุญลูกา
บางขาม ด้วย
1. 1926 – 1929 คุณพ่อซีมอน (ฟิลิป) ศรีจันทร์ ศรีประมงค์ สร้างวัดหลังแรก
2. 1928 – 1929 คุณพ่อเกลเมเต แฉล้ม พานิชเกษม
3. 1929 – 1931 คุณพ่อเฮนรี่ (อเล็กซานเดอร์) สุนทร วิเศษรัตน์
4. 1932 – 1934 คุณพ่อแบร์นาร์ด มนัส บุญคั้นผล
5. 1935 – 1939 คุณพ่อวินเซนเต (เปโตร) วรงค์ สุขพัฒน์
6. 1939 – 1945 คุณพ่อเทโอฟัน หลง มีเฟื่องศาสตร์
ต่อมา ในปี 1943 – 1946 คุณพ่ออัมโบซิโอ(เปโตร) กิ๊น มิลลุกุล
ได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ของวัดบางขาม โดยไม่ขึ้นกับวัดบ้านแป้งอีกต่อไป คุณพ่อได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ และบ้านพักซิสเตอร์
ปี 1946 -1954 คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ (เรอเน) ทองดี
กฤษเจริญ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่ออัมโบซิโอคุณพ่อได้มาดำเนินงานต่าง ๆ ต่อเป็นอันมาก นำความเจริญมาสู่วัดนักบุญลูกา จำนวนสัตบุรุษเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณพ่อจึงคิดที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อลูกหลานของเรา โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนพระวรสาร” แต่ยังไม่ทันเปิดคุณพ่อก็ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ บางรัก เสียก่อน
ปี 1954 – 1960 คุณพ่อเรอเน มอรีส เมอนิเอร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อได้เริ่มกิจการโรงเรียนอย่างจริงจัง โดยเปิดโรงเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.4 นอกจากนั้นคุณพ่อยังได้นำวิธีการทำเกษตรแผนใหม่มาริเริ่มและมาเป็นตัวอย่างในเขตวัด เช่น การทำสวน การปลูกพืชไร่ การเลี้ยงสุกรด้วยอาหารแห้ง การปั่นไฟฟ้าใช้ด้วยกังหันลม การสูบน้ำ เป็นต้นและในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1957 ได้จัดงานฉลองวัดบางขามโอกาสครบรอบ 20 ปี ทางวัดจึงถือโอกาสนี้จัดฉลองหิรัญสมโภช บวชครบ 25 ปี ให้แก่คุณพ่อเมอนิเอร์
ด้วย ซึ่งในวันนั้นมีพระสงฆ์ เดินทางจากกรุงเทพ และทางเหนือ มาร่วม ฉลอง10 กว่าองค์ รวมทั้งคุณพ่อ โอลิเอร์ คุณพ่อตาปี คุณพ่อเปแรง และคุณพ่อเลออง
ปี 1960 – 1962 คุณพ่อปอล ยือแบง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดบ้านแป้งตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2496 แล้ว แต่เนื่องจากคุณพ่อเมอนิเอร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประมุขมิสซัง
กรุงเทพ (อุปสังฆราช) แทนคุณพ่อแปรูดง คุณพ่อเมอนิเอร์ที่เป็น เจ้าอาวาสอยู่ที่วัดบ้านแป้ง จึงมาทำหน้าที่เจ้าอาวาสแทน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2503 จนถึงวันที่ 21 มกราคม 2505 เป็นเวลา 2 ปี โดยมี พระสงฆ์หนุ่ม เป็นผู้ช่วยคือ คุณพ่อฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู (ปัจจุบันคือ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มิชัย กิจบุญชู) คุณพ่อทั้งสองได้ผลัดกันไปทำมิสซาวันอาทิตย์ ทั้งที่บ้านแป้ง และบางขามเป็นประจำ จนถึงวันที่ 21มกราคม 2505 คุณพ่อฮั่วเซี้ยง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางขาม คุณพ่อยือแบง จึงทำหน้าที่เป็น เจ้าอาวาสวัดบ้านแป้ง
ปี 1962 – 1965 คุณพ่อฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู (ปัจจุบันคือ
พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางขาม อย่างเป็นทางการ พระคุณเจ้าได้วางรากฐานที่มั่นคงให้กับวัดมากมาย พระคุณเจ้าได้ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม ได้เปิดชั้นเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และขอเพิ่ม ในปีต่อไป ปีละหนึ่งชั้นเรียน พระคุณเจ้าต้องอดทนต่อสู้กับความยากลำบากต่างๆ เพื่อจะได้วางรากฐานความเจริญทั้งทางร่างกายและจิตใจ ปรับปรุงหมู่บ้าน ถางป่าไผ่และระกำ ด้านหลังโรงเรียน เพื่อทำสนาม
ปี 1965 – 1968 คุณพ่อ โรแบร์ ปีโยต์ คุณพ่อมารับตำแหน่งแทน พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ซึ่งย้ายไปเป็น เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ คุณพ่อมองเห็นถึงความสำคัญด้านการศึกษา เช่นเดียวกับ พระคุณเจ้ามีชัย กิจบุญชู คุณพ่อได้สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 2 ชั้น และขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้สร้างบ้านพักซิสเตอร์หลังใหม่ คุณพ่อควบคุมการสอนด้วยตนเอง จนโรงเรียนพระวรสาร เป็นโรงเรียนที่เป็นที่ รู้จักกันทั่วในจังหวัดลพบุรี
มีเหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1967 พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ทรงสถาปนา สังฆมณฑลนครสวรรค์ขึ้นและแต่งตั้ง พระสังฆราชมิเชล ลังเยร์ เป็นประมุข สังฆมณฑล แยกจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ
ปี 1948 – 1989 คุณพ่ออังตวน เอมมานูแอล เดชังป์-แบร์แยร์ เป็นเจ้าอาวาส วัดนักบุญลูกา บางขาม คุณพ่อได้ดำเนินการต่าง ๆ ตลอดเวลาที่ยาวนานที่สุดคือ 12 ปี คุณพ่อได้จัดระบบหมู่บ้านใหม่ พัฒนาถนนหนทางในหมู่บ้านใหม่ ได้สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น พัฒนาสุสาน ได้นำความเจริญมาสู่หมู่บ้านเป็นอันมากในเวลาเดียวกันก็พยายามรวบรวมเงินสำหรับสร้างวัดหลังใหม่ มีเหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้คือ พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ทรงแต่งตั้ง พระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค
ให้เป็นประมุขสังฆมณฑลนครสวรรค์
ปี 1980 –1984 คุณพ่อยอแซฟ ธวัช พันธุมจินดา เป็นพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ทางอัครสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อมาช่วยงานสังฆมณฑลนครสวรรค์ คุณพ่อได้ขยายหอพักนักเรียนประจำ ปรับปรุงห้องอาหาร อาคารที่พักให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน ตบแต่งภายในบ้านพักของซิสเตอร์ ได้สร้างโรงอาหารด้านหลังอาคารสองชั้น เพื่อเป็นห้องอาหารและที่จัดงานอเนกประสงค์ของโรงเรียน
คุณพ่อได้เห็นว่าสภาพวัดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถที่จะบูรณะซ่อมแซมได้อีกต่อไปจึงได้ปรึกษาทางผู้ใหญ่ เห็นสมควรให้มีการจัดสร้างวัดใหม่ ปี 2526 ได้รื้อวัดหลังเก่าพร้อมกันนั้นได้ลงมือสร้างวัดหลังใหม่ แต่ต้องพบกับอุปสรรคคือ น้ำท่วมบริเวณที่ก่อสร้างเป็นเวลาประมาณ 3 เดือนทำให้การก่อสร้างหยุดชะงักล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นการก่อสร้างก็สำเร็จสมบูรณ์
ปี 1984 – 1990 คุณพ่อยวง บัปติสตา บุญเสริม เนื่องพลี
เป็นพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพทางอัครสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อมาช่วยงานสังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน คุณพ่อ ธวัช พันธุมจินดา คุณพ่อได้ปรับปรุงและพัฒนาอาคาร โรงเรียน หอพัก นักเรียนประจำให้สวยงาม น่าอยู่
ปี 1990 – 1994 คุณพ่ออันดรูว์ ศรีปราชญ์ ผิวเกลี้ยง เป็นพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ทางอัครสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อมาช่วยงานสังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน คุณพ่อ บุญเสริม เนื่องพลี คุณพ่อได้ปรับปรุงและพัฒนาบริเวณรอบวัด โรงเรียน
และก่อสร้างหอพักชาย
ปี 1994 – 1999 คุณพ่ออเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์
(ตั้งแต่ 1 พ.ค. 2537 – 2 พ.ค.2542 ) เป็นพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ทางอัครสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อ มาช่วยงานสังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน คุณพ่อศรีปราชญ์ ผิวเกลี้ยง คุณพ่อได้ปรับปรุงและพัฒนาบริเวณรอบวัด และก่อสร้างตึกอนุบาล โดยใช้นามว่า อาคาร อเล็กซิสปี 2000 – 2002 คุณพ่อฟรังซิส เซเวียร์ เดชา อาภรณ์รัตน์ (ตั้งแต่ 1 พ.ค. – 5 พ.ค. 2545 ) เป็นพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ทางอัครสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อมาช่วยงานสังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน คุณพ่อ สุรชัย กิจสวัสดิ์ คุณพ่อได้ปรับปรุงและพัฒนาบริเวณรอบวัดและโรงเรียนก่อสร้างบ้านพักพระสงฆ์บ้านพักคนงานและปรับปรุงต่อเติมโรงอาหาร
ปี 2002 – 2007 คุณพ่อฟิโลมิโนสุระพงษ์ ไม้มงคล
เป็นพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ทางอัครสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อมาช่วยงานสังฆมณฑลนครสวรรค์ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน คุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์ คุณพ่อได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์นักบุญลูกา ปรับปรุงสุสาน และอาคารอเนกประสงค์ซึ่งอยู่ติดกับสุสานโดยให้ชื่อว่า ศาลายอแซฟก่อสร้างบ้านพักซิสเตอร์ ปรับปรุงและพัฒนาบริเวณภายในวัด และจัดสวนหย่อมบริเวณรอบๆวัดให้ดูร่มรื่น สวยงาม
ปี 2007 – ปัจจุบัน คพ.มีคาแอล พิทักษ์ ศิลาโคตร
สัตบุรุษวัด อัครเทวดาคาเบรียล สันติสุข เพชรบูรณ์
บรรพชา6 มกราคม 1991 เข้าทำงานที่วัดนักบุญลูกาบางขาม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 (2007) เป็นพระสงฆ์พื้นเมืองซึ่งสังกัดสังฆมณฑลนครสวรรค์องค์แรกที่เป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญลูกา บางขาม
ขอบคุณข้อมูลบางส่วน ที่ http://historyindiary.blogspot.com/2010/10/blog-post_17.html