ขุนบริบาลบางลี่ คือ นายชั้ว วังกานนท์ ต้นตระกูลวังกานนท์ ต้นตระกูล พลตอ.บุญชู วังกานนท์
แหล่งอ้างอิงจากหนังสือ
ช่วยเหลือเรือ่งรถตลอด24ชม. โทร 0863050805 0889996007 เลขที่ 340/3 หมู่4 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี email paramotorplay@gmail.com
ขุนบริบาลบางลี่ คือ นายชั้ว วังกานนท์ ต้นตระกูลวังกานนท์ ต้นตระกูล พลตอ.บุญชู วังกานนท์
แหล่งอ้างอิงจากหนังสือ
อ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ อาณาจักรละโว้ก่อตั้งโดยพระยากาฬวรรณดิศ บุตรของพระยากากพัตร และในปีเดียวกันพระยากาฬวรรณดิศได้ตั้งจุลศักราช เป็นศักราชประจำอาณาจักรของพระองค์ด้วย จึงสันนิษฐานได้ว่า อาณาจักรละโว้ น่าจะสถาปนาในปี พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638)
เมืองละโว้ได้รับคติทางศาสนาพราหมณ์จากราชอาณาจักรขอมกัมพูชา [1] และพุทธศาสนาแบบมหายานที่ขึ้นมาจากทางทิศใต้ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 คติความเชื่อทั้งสองนั้นเข้ากันได้และส่งเสริมการปกครองบ้านเมืองที่รวมกันเป็นราชอาณาจักรใหญ่ ดังนั้น เมืองละโว้จึงเป็นเมืองที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ไปถึงบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งลุ่มแม่น้ำมูล คือเมืองพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา เมืองพนมรุ้ง ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ไปจนถึงเมืองพระนครหลวง ในกัมพูชา ซึ่งทั้งเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้งต่างก็มีศิลาจารึกที่แสดงอำนาจความเป็นอิสระของการเป็นเมืองหลวงปกครองดินแดนในละแวกใกล้เคียงในระดับหนึ่งด้วย ส่วนเมืองละโว้นั้น ในช่วงเวลานี้มีเอกสารประเภทตำนานที่แสดงถึงการแตกแยก ที่ทำให้เมืองหริภุญไชยซึ่งแยกออกไปปกครองตนเองโดยอิสระ เป็นอีกอาณาจักรหนึ่ง
ในระยะเวลาต่อมา เมืองละโว้มีบทบาทก่อให้เกิดเมืองหลวงขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองสุโขทัย ที่ขึ้นไปจัดตั้งไว้ที่ตอนบนของที่ราบฝั่งแม่น้ำยม เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้นไม่นาน สุโขทัยก็แยกตัวออกเป็นอิสระอีกแว่นแคว้นหนึ่งเช่นเดียวกับเมืองหริภุญไชย เรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 วัดศรีชุม เรื่องพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพง อาจเป็นเรื่องราวตอนที่สุโขทัยแยกตัวออกจากเมืองละโว้ก็ได้ ส่วนเมืองละโว้นั้น ก็ได้มีการขยับขยายราชธานีลงทางใต้ ตั้งบ้านเมืองในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สายคือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกัน และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิ ต่อมาก็ได้จัดตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงในที่สุด
เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งที่อาจกล่าวว่าอยู่ในขอบเขตใกล้ทะเลอ่าวไทย คือ เมืองศรีมโหสถแห่งลุ่มน้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในเขตอำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองที่มีศาสนสถานเป็นจำนวนมาก โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้อาจสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 แต่โบราณสถานที่เป็นของเมืองนี้อย่างแน่นอน และเป็นศาสนสถานของพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้น คือ รอยพระพุทธบาทคู่ที่วัดสระมรกต ซึ่งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 14 เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองศูนย์กลางปกครองดินแดนใกล้เคียงสืบต่อกันมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 จึงได้กลายเป็นเมืองในราชอาณาจักรขอมกัมพูชา ซึ่งมีศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลวง และมีหลักฐานแสดงการนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
พื้นที่อาณาจักรละโว้จะระบายด้วยสีฟ้า
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังยกเป็นพระราชเทวี และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี[1][2][3][4]
พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน หม่อมหลวงมานิจ ชุมสายระบุว่า พระมารดาของพระนารายณ์เป็น “…พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง”[1] แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า มารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม[5] ส่วนพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฟาน ฟลีต ระบุว่า เป็นลูกของน้องชายพระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม[6]
พระองค์มีพระนมที่คอยอุปถัมภ์อำรุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์ คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน[1] กับอีกท่านหนึ่งคือพระนมเปรม ที่ฟร็องซัว อ็องรี ตุรแปง (François Henry Turpin) ระบุว่าเป็นเครือญาติของสมเด็จพระนารายณ์[7]
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ (เจ้าฟ้าง่อย[8]), เจ้าฟ้าน้อย, พระไตรภูวนาทิตยวงศ์, พระองค์ทอง และพระอินทราชา
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชกุมาร” ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์ พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ
สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิเคยได้เป็นพระมหากษัตริย์ “ทรงธรรม” หรือ “ธรรมราชา” ในสายตาของทวยราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ที่มีการเปรียบเทียบพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็จะพบว่าเชลยไทยชื่นชมพระมหากษัตริย์พระองค์หลังเสียมากกว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารของชาวตะวันตกที่ยืนยันความไม่เป็นที่นิยมของราษฎรอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะตลอดรัชสมัยของพระองค์ล้วนมีการสงครามทั้งกับต่างประเทศและการปราบกบฏภายในประเทศ ชาวนาจึงต้องถูกเกณฑ์ไปรบหรืออาจทนทุกข์เพราะความแร้นแค้นของภาวะสงคราม ยังความทุกข์สู่ทวยราษฎร์และไม่มีประโยชน์อันใดต่อชาวนา[9]
พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวที่เกิดกับพระอัครมเหสี[10] คือ สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “กรมหลวงโยธาเทพ” ถือเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมคู่แรก พร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ พระขนิษฐา[11] พระราชธิดาพระองค์ดังกล่าวมีพระราชอำนาจสูงมาก โดยจากหลักฐานของลาลูแบร์ได้กล่าวว่าเจ้าฟ้าพระองค์นี้ “…ดำรงอิสริยยศเยี่ยงพระมเหสี…”[12] และบางครั้งชาวตะวันตกก็เรียกแทนว่าเป็น “ราชินี”[13] และหากมีผู้ใดเสกสมรสด้วยกับเจ้าฟ้าพระองค์นี้ก็ย่อมได้รับสิทธิธรรมเหนือราชบัลลังก์มากขึ้นด้วย[14]
นอกจากนี้ยังมีปรากฏในพงศาวดารว่าทรงมีพระโอรสลับคือ หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือ พระเจ้าเสือ) ที่แพร่หลายมากที่สุดในราชสำนัก ใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า เกิดจากพระราชชายาเทวี มีนามเดิมว่าเจ้าจอมสมบุญ ภายหลังได้มอบราชบุตรดังกล่าวกับเจ้าพระยาสุรศรี (พระเพทราชา)[15] ส่วน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่า เกิดกับนางนักสนมที่ชื่อกุสาวดี เมื่อนางตั้งครรภ์ก็ได้ส่งนางไปอยู่กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (คือพระเพทราชา)[16] ส่วน พระราชพงศาวดารฯ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลที่ต่างออกไปว่า มีพระนามเดิมว่า มะเดื่อ เกิดจากพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ภายหลังทรงให้พระเพทราชาไปดูแล ด้วยทรงละอายพระทัยที่เสพสังวาสกับนางลาว[17]
ในพงศาวดารของไทยปรากฏว่าพระองค์ไม่ทรงยกย่องพระโอรสลับพระองค์ใดที่เกิดกับพระสนมมีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ทรงหมายพระทัยให้มีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีสืบราชสมบัติเสียมากกว่า ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ว่า[18]
ครั้นต่อมาพระนารายน์ทรงพระปริวิตกด้วยหาพระราชโอรสสืบราชตระกูลมิได้ จึงรับสั่งให้พระอรรคมเหษีตั้งสัตยาธิษฐานขอพระโอรส แต่นางนักสนมทั้งปวงนั้นมิได้รับสั่งขอ ด้วยไม่วางพระไทยกลัวจะเปนขบถอย่างพระสีสิงห์ [พระศรีศิลป์] ที่สุดนางนักสนมคนใดมีครรภ์ขึ้นก็ให้รีดเสีย มิได้เกิดโอรสธิดาได้
ส่วนใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งถ่ายมาจากคำให้การชาวกรุงเก่าก็อธิบายไว้ดุจกัน แต่ได้ขยายความดังกล่าวว่า[19]
อันพระนารายณ์นั้นได้ขัดเคืองพระศรีศิลปกุมารแต่ครั้งนั้นมาว่าเปนขบถ เพราะเหตุว่ามิใช่ลูกของพระองค์ที่เกิดกับพระมเหษี จึงจะไม่เปนขบถ…อันพระมเหษีนั้นก็มีแต่พระราชธิดา มิได้มีเปนกุมาร พระองค์จึงรักษาศีลาจารวัตรปฏิบัติโดยธรรมสุจริต จะขอให้ได้พระโอรสอันเกิดในครรภ์พระมเหษี ก็มิได้ดั่งพระทัยปราร์ถนา จึงทรงพระโกรธ ครั้นเมื่อทรงพระโกรธขึ้นมา จึงตรัสกับพระสนมกำนัลทั้งปวงว่า ถ้าใครมีครรภ์ขึ้นมาแล้วจะให้ทำลายเสีย กูมิให้ได้สืบสุริยวงศต่อไป ต่อเมื่อเกิดในครรภ์พระมเหษี กูจึงจะมอบโภคัยศวรรยทั้งปวงให้ตามใจกูปรารภ ครั้นพระสนมกำนัลรู้ตัวว่ามีครรภ์ก็ต้องทูลพระองค์ ครั้นทราบก็ให้ทำลายเสียอย่างนั้นเปนหนักหนา
นอกจากนี้บาทหลวงเดอ แบส และพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ได้กล่าวถึงเรื่องที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับเลี้ยงดูเด็กเล็กเลี้ยงดูในพระราชวังหลายคนโดยเลี้ยงดุจลูกหลวง แต่หากเด็กคนใดร้องไห้อยากกลับไปหาพ่อแม่เดิมก็ทรงอนุญาตส่งตัวคืน[20] แต่ลาลูแบร์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “…พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะเลี้ยงไว้จนกระทั่งเด็กนั้นมีอายุได้ 7 ถึง 8 ขวบ พ้นนั้นไปเมื่อเด็กสิ้นความเป็นทารกแล้วก็จะไม่โปรดอีกต่อไป…” แต่มีเพียงคนเดียวที่โปรดปรานคือ พระปีย์ ทั้งยังโจษจันกันว่านี่อาจเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ก็มี[21][22] ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงวางเฉยกับเรื่องพระปีย์เป็นโอรสลับเสียด้วย[23]
ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พระองค์มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เมื่อโสกันต์แล้วพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้าอไภยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่มีพระราชโอรส เจ้าฟ้าอไภยทศพระองค์นี้เป็นพระราชอนุชาของพระองค์
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A
ครั้งหนึ่งผมไปเที่ยวญี่ปุนและไปเที่ยวภูเขาไฟลูกนี้มา และมาตอนนี้ผมดูข่าวก็อดจะตื่นเต้นไม่ได้ว่าภูเขาที่เราไปมานั้น มันจะระเบิดดีนะที่เราไปมันไม่ระเบิดตอนนั้นทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นและเก็บมาเล่าให้เพื่อนๆฟังครับ
https://www.youtube.com/watch?v=HNrubpjJNRo
เพื่อนๆคงจะสนุกกับมันนะครับ