การตั้งชมรม

ระเบียบการว่าด้วยชมรม

ชมรม

ความหมายของชมรม

หมายถึง ที่พัก, ที่ประชุม; หมู่พวก, บางทีว่า โชมโรม

หมายถึง ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมนักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์ ชมรมผู้สูงอายุ เป้นต้น

ลักษณะของชมรม

ชมรม ไม่เป็นนิติบุคคล กลุ่มคิดจะตั้งก็ตั้งได้ทันที การตั้งจึงขึ้นอยู่กับสมาชิกชมรมว่าจะร่างข้อบังคับ หรือระเบียบอะไรก็ตกลงกันเอง อยากเลิกเมื่อไหร่ตกลงกันเองในสมาชิก  ชมรมควรมีจุดประสงค์ของชมรมว่าตั้งชมรมขึ้นมาเพื่ออะไร และอยากทำอะไร รวมทั้งควรประกาศจุดยืนของชมรมให้เป็นที่รู้กันในหมู่สมาชิกและสังคมภายนอก จะได้ทำงานได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง เขียนเป็นบันทึกลายลักษณ์อักษรร่างเป้นกฏบังคับ

ขั้นตอนของการจัดตั้งชมรมทั่วๆ ไปมีดังนี้

ขั้นที่ 1 เริ่มต้น
เริ่มต้นต้องหากลุ่มคนที่มีความชอบ ความสนใจในเรื่องเดียวกันก่อน ซึ่งเรื่องนี้มักไม่ใช่ปัญหา เพราะคนที่ดำริจะจัดตั้งชมรมฯ ก็มักจะมีกลุ่มคนนี้ด้วยอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ควรต้องลงลึกคือเรื่องของแนวคิดของกลุ่ม เพราะหากแนวคิดไม่ตรงกันแล้ว ชมรมฯถึงหากตั้งขึ้นมาก็จะไม่ประสบความสำเร็จ โดยสรุปก็คือในขั้นเริ่มต้น ต้องมีกลุ่มคนที่ทำงานเหมือน ๆ กันมาอยู่ร่วมกัน และมีเจตน์จำนงเช่นเดียวกัน การตั้งชมรมฯจึงจะเกิด
ขั้นที่ 2  จำนวนคน
กลุ่มคนตามข้อหนึ่งนั้นไม่จำเป็นต้องมีมากคือ ถ้ามีคนใจเดียวกันประมาณเพียง 10 คน ก็จะตั้งเป็นชมรมฯได้

ขั้นที่ 3  แกนนำ
จากนั้นก็ต้องเลือกคนที่จะมาเป็นแกนนำของกรรมการชมรมฯ บุคคลหลัก ๆ ในช่วงเริ่มต้นมีเพียงแค่ 2 คน คือตำแหน่งประธานและตำแหน่งเลขา(เรขาธิการ)

ขั้นที่ 4  กรรมการ

กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ได้แก่

– รองประธาน (อาจมีมากกว่าหนึ่งคน แต่ต้องใช้กับชมรมที่มีขนาดใหญ่ และทำงานมาได้ช่วงหนึ่งแล้ว และมีงานหรือกิจกรรมมากจนต้องมีรองประธานมาช่วยงาน)

–  ผู้ช่วยเลขาธิการ (เช่นเดียวกัน ใช้สำหรับชมรมขนาดใหญ่ตั้งมานานแล้วพอสมควร ถ้าเป็นชมรมขนาดเล็กหรือเพิ่งเริ่ม ตำแหน่งนี้ไม่ควรมีเพราะจะเกิดการเกี่ยงงานกันขึ้นได้)

–  บัญชี (สำหรับจัดระบบบัญชี และทำงบดุลแถลงต่อสมาชิกในการประชุมประจำปี ใช้เฉพาะสำหรับชมรมฯที่มีงานมาก และมีงบประมาณสูงเกินที่จะปล่อยไปโดยไม่ตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีโครงการที่ขอบริจาคจากประชาชนทั่วไป แต่สำหรับชมรมเล็ก ๆ แล้วไม่ควรมีตำแหน่งนี้เลย เพราะจะทำให้ยุ่งยาก หาคนมาทำงานลำบาก และจะทำให้การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นไม่ได้)

– นายทะเบียน (คนนี้ก็มีบทบาทสำคัญ เพราะจะต้องเป็นคนที่รวบรวมรายชื่อของสมาชิกทั้งใหม่และเก่า และต้องปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาด้วย รายชื่อพวกนี้สำคัญมากหากชมรมอยู่ในเมืองใหญ่ เพราะจะต้องใช้สำหรับการประสานงานทั้งระหว่างมวลสมาชิกและกับบุคคลภายนอก)

– ฝ่ายนายทุน (หากต้องการทำงานให้ใหญ่ มีโครงการสนองตอบต่อสังคมได้มากตำแหน่งนี้ก็อาจจำเป็น มิฉะนั้นก็ทำงานไม่ได้)

– ประชาสัมพันธ์ (ตำแหน่งนี้สำคัญในยุคข่าวสารแบบปัจจุบัน ต้องเป็นคนที่กว้างขวางในสังคมทั้งท้องถิ่นและส่วนกลาง เพื่อที่จะได้กระจายข่าวกิจกรรมของชมรมฯให้สังคมภายนอกรู้จัก ซึ่งจะเป็นผลพวงต่อให้ฝ่ายหาทุนทำงานให้ง่ายขึ้นด้วย)

ขั้นที่ 5 กฎหมาย

ชมรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นในประเทศไทยนี้ไม่มีฐานะทางกฏหมายทั้งสิ้น ไม่เหมือนกับสมาคมหรือมูลนิธิที่ต้องไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและสำนักตำรวจแห่งชาติการตั้งชมรมจึงง่ายมาก หากหากลุ่มคนที่มีคุณสมบัติตามที่เขียนไว้ข้างต้นได้พอสมควร ก็สามารถประกาศจัดตั้งเป็นชมรมขึ้นมาได้เลย

ขั้นที่ 6 ชื่อและโลโก้

เมื่อเสร็จจากการตกลงปลงใจตั้งเป็นชมรมแล้ว ก็ต้องตั้งชื่อชมรม ซึ่งควรตรวจสอบกับวงการในวงกว้างเพื่อที่จะได้ไม่มีชื่อซ้ำซ้อนและเกิดการสับสนกันในภายหลัง จากนั้นก็ต้องหาคนที่มีฝีมือมาช่วยออกแบบสัญญลักษณ์หรือโลโก้ของชมรมฯ แต่หากไม่ต้องการความสวยงาม (เท่)ในด้านนี้ ตัวโลโก้ก็ไม่จำเป็น แต่ชื่อชมรมนั้นจำเป็นแน่เพราะไม่เช่นนั้นคนอื่น (รวมทั้งเราด้วย)ก็ไม่รู้จะเรียกกลุ่มของเราว่าอะไร

ขั้นที่ 7 จุดประสงค์

ชมรมควรมีจุดประสงค์ของชมรมว่าตั้งชมรมขึ้นมาเพื่ออะไร และอยากทำอะไร รวมทั้งควรประกาศจุดยืนของชมรมให้เป็นที่รู้กันในหมู่สมาชิกและสังคมภายนอก จะได้ทำงานได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ถ้าเขียนเป็นบันทึกลายลักษณ์อักษรเลยได้ก็

ขั้นที่ 8  กิจกรรม

กิจกรรมของชมรมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่ตั้งมา หากตั้งขึ้นมาเพื่อการท่องเที่ยว แต่ไปจัดกิจกรรมการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายก็คงจะผิดจุดประสงค์ไป และกิจกรรมของชมรมนี่แหล่ะจะเป็นตัวบ่งชี้อนาคตของชมรม หากตั้งขึ้นมาแล้วไม่มีกิจกรรมไปสักระยะหนึ่ง ความเป็นชมรมก็จะสลาย

ขั้นที่ 9 ข้อบังคับ

ถ้าการที่จะมีข้อบังคับของชมรมทำให้ยุ่งยากจนจัดตั้งชมรมไม่ได้ ก็อย่าไปสร้างเงื่อนไข
นี้ขึ้น เพราะเกือบทุกชมรมในประเทศไทยไม่มีข้อบังคับของชมรมแต่ก็ทำงานกันได้ ดังนั้นข้อนี้จึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นยิ่งยวด แต่ถ้าหากสามารถจัดให้มีขึ้นได้ ก็ช่วยให้การทำงานของชมรมรัดกุม รอบคอบ และมีข้อโต้แย้งน้อยลง อย่าลืมว่าชมรมเป็นองค์กรหลวม ๆ ไม่มีกฏหมายรองรับ การไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงเป็นหัวใจหลักของการทำงานในลักษณะนี้มากกว่าข้อบังคับที่ตั้งขึ้นแล้วไม่มีคนปฏิบัติตาม

ขั้นที่ 10  ประชุมประจำปี

การประชุมประจำปีจะจัดว่าจำเป็นก็จำเป็น จะว่าไม่ก็ไม่ ขึ้นอยู่กับขนาดและความตั้งใจจริงของชมรม แต่ถ้าเป็นชมรมใหญ่แล้วสิ่งนี้จำเป็นมาก เพราะเป็นโอกาสที่กรรมการจะแถลงผลงานให้สมาชิกทราบว่าทำอะไรไปบ้างในปีที่ผ่านไป มีการแถลงงบดุลให้โปร่งใสและให้สมาชิกทราบและซักถาม รวมทั้งมีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ด้วย (ถ้าจะมี) ส่วนการประชุมประจำปีก็เป็นได้ทั้งอย่างมีรูปแบบ (ประชุมในห้องประชุม มีประธาน มีการแถลง มีการซักค้านฯลฯ) และแบบง่าย ๆ (กินข้าวร่วมกัน และปรึกษาหารือกัน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของชมรม

แนวทางในการตั้งชมรมของสถาบันการศึกษาหรือของกลุ่มสมาชิกที่ต้องการร่วมทำกิจกรรชมรม
สถาบันการศึกษาเป็นสถานที่ให้ความรู้ในทางทฤษฏีและในทางปฏิบัติ สมาชิกทุกคนล้วนต้องการที่จะใฝ่หาความรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้จากกลุ่มชมรมที่สมบูรณ์
ดังนั้นการตั้ง “ชมรม” จึงเป็นองค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของกลุ่มสมาชิก

ชมรม คือ กิจกรรมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มที่แนวคิดในการดำเนินการด้านกิจกรรมที่สอดคล้อง
หรือคล้ายคลึงกัน มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
ซึ่งไม่ขัดกัน ต่อนโยบายขององกรณ์และสังคมหรือกฏหมาย ดังนั้นชมรมจึงเป็นอีกรูปเเบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมในกลุ่ม ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ทำกิจกรรม ตามความถนัดเเละความสนใจ นอกจากนี้กิจกรรมชมรม ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวสมาชิกในการเสริมสร้างความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากการได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

หลักเกณฑ์การตั้งชมรม
เมื่อบุคคลได้รวมกลุ่มเพื่อที่จะขอตั้งชมรมแล้วนั้น การดำเนินการขอจัดตั้งชมรม
ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ชมรมต้องมีสมาชิกเริ่มก่อตั้งไม่น้อยกว่า 50 คน
2. กลุ่มผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งชมรม ให้ยื่นแบบฟอร์มการขอรวมกลุ่มจัดตั้งชมรม
พร้อมด้วยรายละเอียดของชมรมดังต่อไปนี้
2.1 ชื่อ และวัตถุประสงค์ของชมรม
2.2รายชื่อที่ปรึกษาทางกฏหมาย
2.3รายชื่อสมาชิกที่ขอจัดตั้ง
2.4รายชื่อกรรมการบริหาร ให้ระบุตำแหน่งดังต่อไปนี้
1.ประธานชมรม
2.รองประทานชมรม
3.เลขานุการ
4.เหรัญญิก
5.นายทะเบียน
6.ประชาสัมพันธ์
7.ตำแหน่งอื่นๆที่จำเป็น

การดำเนินการขอจัดตั้งชมรม
การรวบรวมกลุ่มของสมาชิกเพื่อขอจัดตั้งชมรม กลุ่มต้องดำเนินการผ่านขั้นตอน ดังนี้
1.การดำเนินการเพื่อขอจัดตั้งชมรม ให้นำเสนอต่อสมาชิกกลุ่มทุกคน โดยผ่านคณะกรรมการบริหารและผู้ดำเนินงาน
2.การยื่นแบบฟอร์มขอจัดตั้งชมรม จะต้องทำในวันและเวลาที่คณะกรรมการของกลุ่มที่กำหนดไว้

3.เมื่อคณะกรรมการในกลุ่มลงมติให้เห็นสมควรจัดตั้งแล้ว ให้นำเสนอต่อกลุ่มเพื่อทราบและพิจารณาให้ความเห็นชอบ จึงถือว่าเป็นการจัดตั้งที่สมบูรณ์
4.นโยบายการดำเนินกิจกรรมของชมรม จะต้องไม่ขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ขนบธรรมเนียบประเพณีและศีลธรรมอันดีงามของไทย ตลอดจนกฏระเบียบและข้อบังคับในข้อกฏหาย

5.วัตถุประสงค์ของชมรมที่ขอจัดตั้งใหม่ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกันกับวัตถุประสงค์ของงชมรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
6.ชมรมจะสิ้นสุดสภาพได้โดยเหตุใดเหตุหนึ่งต่อไปนี้
1.มีสมาชิกน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2.ไม่มีผลงานปรากฏในรอบปีตามที่ควรจะเป็น โดยพิจารณาจากรายงานการประเมินผลการดำเนินงาน
3.คณะกรรมการบริหารชมรมเห็นสมควรให้ยุบ
4.ประธานและที่ปรึกษาเห็นสมควรให้ยุบ

ขอบคุณข้อมูลสำคัญจาก “อบรมเชิงปฏิบัติการองค์ความรู้สู่คุณธรรม.” โดย ครูวิริยา เดโช

 

อ่านพอเข้าใจนะ

มาเฟียแหลมบาลีฮาย

มาเฟียแหลมบาลีฮาย

https://www.youtube.com/watch?v=_VogREKRYOs

คณะคสช.ลงพื้นที่ป้องปรามกรณีนำเรือสปีดมาจอดพักบนพื้นที่สาธารณะแหลมบาลีฮายโดยมีการเรียกรับผลประโยชน์ เพื่อจัดระเบียบให้เข้าสู่โหมดที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
ที่บริเวณแหลมบาลีฮาย พันเอกภพอนันต์ เหลืองภาณุวัฒน์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14 พร้อมด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, นายเอกราช คันธโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพัทยา กองกำลังเจ้าหน้าที่จากเมืองพัทยา, อำเภอบางละมุงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮายหลังได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีการใช้พื้นที่สาธารณะเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่ บริเวณท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮายในการเรียกรับผลประโยชน์มีการเอื้อให้เรือสปีดโบ๊ทและรถลากเรือสปีดโบ๊ทมาจอดพักหลังจากให้บริการนักท่องเที่ยวหรือบางลำจอดทิ้งไว้ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้งาน ทำให้พื้นที่สาธารณะในบริเวณดังกล่าวใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
สำหรับปัญหาดังกล่าวนั้นกำลังส่งผลกระทบในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเข้าออกของรถทัวร์นักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากเมื่อมาจอดรถรับส่งนักท่องเที่ยวในเวลาพร้อมๆกัน จึงส่งผลทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดเป็นเส้นทางยาวในวงจำกัด และพื้นที่บริเวณรอบข้างไม่สามารถขยายเส้นทางได้เพราะพื้นที่บางส่วนกลายเป็นพื้นที่จอดเรือดังกล่าวไปแล้ว รวมทั้งเมืองพัทยายังต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บการเช่าที่จอดเรือบนพื้นที่สาธารณะของเมืองพัทยามาอย่างยาวนานทั้งๆที่เป็นพื้นที่ของเมืองพัทยาเอง ครั้งนี้จึงลงพื้นที่มารับฟังปัญหาและดูต้นสายปลายเหตุของปัญหาทั้งหมดเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไปร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและหาวิธีให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันอย่างได้ประโยชน์สูงสุด

https://www.facebook.com/1421513211500307/photos/pcb.1668854716766154/1668854630099496/?type=3

 

สภาพัทยาเดือด “นายก-สม.” หวิดวางมวย
นายสนิท บุญมาฉาย สมาชิกสภาเมืองพัทยา

ศูนย์ข่าวศรีราชา –ประชุมสภาเมืองพัทยาเดือด ! สม.ชูประเด็นถาม การก่อสร้างอาคารรุกล้ำเกลื่อนเมือง เพราะ จนท.รัฐเพิกเฉยต่อการปฏิบัติหน้าที่และเลือกปฏิบัติ ด้านผู้บริหารเมืองพัทยา เลือดขึ้นหน้าจนหวิดวางมวยการสภา ชี้ไม่มีใครเป็นดีร้อยเปอร์เซ็นต์

ในการประชุมสภาเมืองพัทยา วันนี้ (5 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสนิท บุญมาฉาย สมาชิกสภาเมืองพัทยา ได้ตั้งกระทู้ถามกลางที่ประชุมสภาเมืองพัทยา ถึงประเด็นปัญหาของเรื่องการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารและผังเมือง พ.ศ.2522 ของสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่เมืองพัทยากำลังเผชิญ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ภาพลักษณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านส่วนอาคารและผังเมืองนั้นยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก เพราะหลายพื้นที่ยังเกิดปัญหาเรื่องของการรุกล้ำ การต่อเติม โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นจำนวนมาก ซึ่งมองดูแล้วเหมือนกับว่า เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือเลือกปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องหรือเห็นแก่อามิสสินจ้าง

นายสนิท กล่าวอีกว่า เรื่องนี้เคยสอบถาม ต่อ นายสิทธิภาพ เมืองคุ้ม ปลัดเมืองพัทยามาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งก็มีการชี้แจงว่าจะเร่งดำเนินการใหม่ทั้งระบบ โดยกินเวลามากว่าปีเศษแล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ ส่วนอาคารและผังเมือง ที่ปรับปรุงเลยแม้แต่น้อย และยังคงเห็นพฤติกรรมในการใช้อำนาจเข้าไปจัดการประชาชนทั่วไป ขณะที่กลุ่มนายทุนใหญ่ๆ กลับเพิกเฉย และอำนวยความสะดวกให้อย่างเต็มที่

ด้าน นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร นายกเมืองพัทยา ได้กล่าวชี้แจงรายละเอียดถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ต่อข้อซักถามของนายสนิท อย่างตรงไปตรงมา ว่า จะได้เร่งรัดเจ้าหน้าที่ส่วนที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการแก้ไขต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เมื่อนายสนิท ได้ตั้งกระทู้และอภิปรายในประเด็นดังกล่าวนั้น นายนิรันดร์ ได้พยายามตอบข้อซักถามทั้งหมด แต่ก็พบว่าข้อมูลที่นำเสนอบางส่วนเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง และเป็นความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติ จนสุดท้ายได้กล่าวยอม
รับความผิดพลาด พร้อมโต้ตอบด้วยอารมณ์ว่า

“คงไม่มีใครดีทั้งหมด 100% ถ้าจะถามว่าที่ผ่านมามีการเลือกปฏิบัติหรือไม่ ก็ยอมรับว่า คงมีการเลือกปฏิบัติอยู่บ้าง โดยเฉพาะบริเวณแหลมบาลีฮาย ซึ่งปัจจุบันมีการนำเรือมาจอดอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดความสกปรก และเป็นสภาพที่ส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยว แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพราะอยู่ในความดูแลของนายสนิท ซึ่งถือว่ามีอภิสิทธิ์ และกรณีนี้เมืองพัทยาจะเข้าไปจัดการอย่างเด็ดขาดต่อไป” พร้อมกันนี้ นายกเมืองพัทยา ยังได้กล่าวท้าทายให้นายสนิท ออกไปเจรจาด้านนอก ก่อนจะเดินออกจากห้องประชุมอย่างรวดเร็ว

ด้าน นายสนิท กล่าวในที่ประชุมหลังเกิดเหตุการณ์ว่า ได้ร่วมงานกันกับนายนิรันดร์มานาน เรื่องนี้จะไม่ถือโทษโกรธเคือง ถือว่าอโหสิให้ หากไม่เคยทำงานร่วมกันมาหรือเป็นคนอื่น ก็จะฟ้องร้องดำเนินคดีให้ถึงที่สุด เพราะที่บริเวณแหลมบาลีฮาย ไม่ใช่ของส่วนตัว ดังนั้น การมากล่าวหาอย่างนี้จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

ทั้งนี้ การประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตลอดเวลา จน นายทวิช ฉายสว่างวงศ์ ประธานสภาเมืองพัทยา ได้กล่าวตัดบทในทำนองที่ทุกคนต้องมีความรักและสามัคคีกัน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานที่ประสบผลสำเร็จ ก่อนจะปิดการประชุมลงด้วยดี

ซ่อมรถนอกสถานที่พัทยา

ซ่อมรถฉุกเฉินตลอด24 ชม. ภายในเขตพัทยาและไกล้เคียง.
โทร 086-3050805 และ 061-5795434 ยางแตก แบตหมด สตาทไม่ติดกุญแจหาย และทุกกรณี

ซ่อมรถนอกสถานที่ เปลี่ยนไดชาร์จนอกสถานที่ เปลี่ยนครัชนอกสถานที่ เปลี่ยนไดสตาทนอกสถานที่ ซ่อมรถนอกสถานที่ในเขตพัทยา ชลบุรี ใกล้เคียง ช่างซ่อมรถใกล้ฉัน ช่างซ่อมรถนอกสถานที่ 

ซ่อมรถนอกสถานที่

เพื่อนๆทุกปัญหาเรื่องรถบนถนน โทรหาผมได้ครับ 086-3050805  แดง  โทร 0853528222

เมื่อเครื่องยนต์คุณมีปัญหา สตาทไม่ติดโทรหาเรา 086 3050805  เราบริการตลอด 24ชม. ช่างซ่อมรถนอกสถานที่ อู่ซ่อมรถ ช่างซ่อมรถใกล้ฉัน ช่างซ่อมรถ 24ชม. 

P_20170423_123635

96087

https://www.youtube.com/watch?v=zLFpCPxzw1U&feature=youtu.be

P_20170428_061449

P_20170423_123635

96083P_20170423_123734 P_20170423_123956

 

แบตเตอรี่พัทยา

แบตเตอรี่24ชม.

แบตเตอร์รี่พัทยา2

รับเปลี่ยนแบตเตอรื่รถยนต์ในเขตพัทยาไกล้เคียง 061-8968999  เมื่อรถท่านมีปัญหาสตาทไม่ติดเนื่องจากแบตเตอร์รี่เรียกเรา หรือดาวโหลดแอ็บได้ที่กูเกิลเพล เพลโสตร ฟรี เป็นแอ็บช่วยเหลือเรื่องรถยนต์ตลอด 24 ชม.ครับ

แบตเตอรี่24ชม. ในเขาพัทยาไกล้เคียงครับ

Tel: 061-8968999

เบอร์โทร
เพจในเฟรชบุคครับ กดเลยครับจะเข้าไปข้อมูลที่เฟรชบุคครับ

ส่วนเพื่อนๆที่แบตเสียจะให้ไปปเปลี่ยนให้แอดไลท์ผมและแชร์ที่อยู่หรือที่ตั้งหีือที่เขาเรียกกันว่าแชร์โลคเชั้นนัครับใครแชร์์ไม่เปป็นดูวีดีโอด้านล่างนี้ครับ

94230 แอดไลท์ผมครับเพื่อส่งแผนที่ และนำแบตไปปให้ได้ไวครับ

อันนี้เข้าเว็บไซร์ผมดูข้อมูลต่างๆครับ

ความรู้เรื่องไดร์สตาทสาเหตุที่สตาทไม่ติด

ความรู้เรื่องเครื่องยนต์

แบตเตอร์รี่

Open chat
Hello
Can we help you?
สายด่วนโทรเลยครับ